รู้จักแท่นขุดเจาะ
1.แท่นขุดเจาะบนบก
แบบแรกที่ภูมิใจนำเสนอ คือแท่นบก (land rig)
2.แท่นขุดเจาะแบบน้ำตื้น
ต่อมาอันนี้แบบน้ำตื้น หรือที่เรียกว่า swamp barge ก็เอาแท่นไปตั้งบนแพเราดีๆ นี่เอง พวกนี้จะกินน้ำตื้น น้ำหนักเบา เอาไปขุดแถวๆ หนองน้ำ อะไรพวกนั้น ลงทะเลก็ได้ แต่ต้องไม่มีคลื่นเยอะ ประมาณน้ำกร่อย หรือ ชายฝัง
3.แท่นขุดเจาะแบบยกขาตั้ง
ถ้าน้ำลึกหน่อยก็นี่ครับ แบบยกขาตั้ง (jack up rig) มีทั้งแบบ 3 ขา และ 4 ขา มีทั้งแบบมีเครื่องยนต์ และ ไม่มีต้องใช้เรือลากเอา พอเอาขาขึ้นก็ลอยไปลอยมาได้ พอไปถึงที่ก็เอาขาลง ยกตัวแท่นขึ้น พวกนี้เข้าประจำที่เร็ว ขุดเสร็จก็ย้ายออกเร็ว ไม่เสียเวลา เหมาะกับงาน สำรวจ (exploration) เจอก็เก็บข้อมมูลไว้ให้พี่นักธรณีวิเคราะห์ ไม่เจอก็กลบหลุม แล้วย้ายไปสำรวจที่อื่นต่อ
4.แท่นขุดเจาะแบบเทนเดอร์
ต่อมาแบบนี้เรียกว่า tender rig (แบบขนแท่นไปบนแพ-ผมแปลเอง ถ้าผิดขออภัย แปลเอาความหมาย) ก็ใช้กับ platform คืองี้ครับ พอรู้แน่ๆว่าตรงไหนมีปิโตรเลียมก็จะตั้ง platform ขึ้นมาเป็นที่รวบรวมปากหลุมเข้าไว้ด้วยกัน patform หนึ่งจะมีกี่หลุมก็แล้วแต่ความคุ้มทุนในการสร้างกับผลผลิตปิโตรเลียม
แพ tender rig ที่ว่านี่ก็จะขนเอาแท่นที่ถอดออกเป็นชิ้นๆกองๆไปบนแพแล้วยกไปประกอบและตั้งบน platform เหมือน แท่นบนบก อย่างไงอย่างนั้นเลยครับ ข้อเสียคือยุ่งยาก พีธีรีตรองเยอะ กว่าจะประกอบเสร็จ ขุดเสร็จแล้วจะถอดเก็บของก็ใช้เวลาพอกัน ถ้าไม่มี platform สร้างไว้รอก็ขุดเองไม่ได้ แถม platform ที่สร้างก็ต้องคำนวนเผื่อนน.ของแท่นที่จะไปวางบนนั้นอีกต่างหาก ผลคือ platform ราคาแพง แต่ข้อดีคือ ค่าเช่าถูก ดังนั้นจึงมักให้ขุดไปเลย 15-20 หลุม ต่อ platform
5.แท่นขุดเจาะแบบลอยตัวกึ่งจม
แล้วถ้าน้ำลึกเกินกว่านั้นล่ะครับ ต้องนี่เลยครับ semisubmersible (กึ่งจม – แปลเองอีก คือมันจมไปครึ่งนึงน่ะ) มันมีขาเบ้อเร่อเฮิ้ม วางบนทุ่นที่จมอยู่ใต้น้ำ มีทั้งแบบที่เครื่องยนต์ไปไหนมาไหนได้เอง กับแบบที่ต้องลากไป น้ำลึกแค่ไหนก็บ่ยั่นครับ ต้องมีคนสงสัยแน่ๆว่ามันจะอยู่กับที่นิ่งๆได้ไง ไม่โดนคลื่นซัดลอยไปลอยมา
มี 2 วิธีครับ วิธีแรกคือมันมีอุปกรณ์ไฮเทคชิ้นนึ่งครับ เรียกว่า “สมอเรือ” จะกี่เส้นก็ว่าไป ขึงมันทุกมุมทุกทาง ใช้ระบบจีพีเอส ปรับดึงหรือหย่อนมอเตอร์สมอ ให้แท่นอยู่กับที่เมื่อเทียบกับพื้นโลก
อีกวิธีไฮเทคกว่าวิธีแรกหน่อย คือใช้เครื่องยนต์ใบพัดเรือนี่แหละครับ หลายๆตัว เดินเครื่องมัน 24 ชม. บังคับด้วย computer และ ระบบ จีพีเอส เลี้ยงตัวให้อยู่นิ่งๆ พูดง่ายๆว่า คล้ายวิธีแรก แต่ใช้เครื่องยนต์แทนที่จะใช้สมอเรือ
อ้าว แล้วแนวดิ่งล่ะ เพราะคลื่นมันก็ต้องทำให้ตัวแท่นเลื่อนขึ้นลงด้วย ไม่ใช่ไปซ้ายขวาอย่างเดียว ชิวๆครับ … มีอุปกรณ์ไฮเทคอีกชิ้น เรียกว่า “โช้ค” แบบที่อยู่ในรถยนต์
6.เรือขุดเจาะน้ำลึก
แล้วถ้าน้ำลึกมากขึ้นไปอีก แถมยังต้องไปไหนมาไหนเองบ่อยๆ ไม่ต้องพึ่งเรือลากจูง (เพราะเรือลากจูงเนี้ยต้องเช่า วันล่ะหลายอัฐอยู่) ก็นี่เลยครับ drill ship อันนี้ภาษาอังกฤษระดับกรรมกรของผมแปลง่ายๆ แปลว่าเรือขุดครับ วิธีการคงตำแหน่ง (positioning) ก็ 2 วิธีเหมือนไอ้ลำตะกี้น่ะครับ